ภาวะ ผมร่วงเยอะ หรือ Telogen effluvium
ผมร่วงไม่ว่าในผู้หญิงหรือผู้ชายเป็นปัญหาที่น่ากังวล แต่ในทางอารมณ์ ในผู้หญิง ภาวะ “ผมร่วงเยอะ” เป็นปัญหาทั่วไปที่อาจทำให้เกิดความทุกข์ทางอารมณ์ ลดระดับมั่นใจในตัวเอง มากกว่าผู้ชาย
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เรามีตัวเลือกการรักษามากมายที่จะช่วยให้คุณได้ผมสวยกลับคืนมาค่ะ
ภาวะ ผมบาง Thinning hairs
ผมร่วง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณเส้นผมลดลง และผมบางลงกว่าปกติ ผู้หญิงทุกวัยสามารถประสบกับอาการผมบางได้ แต่ส่วนมากมักเริ่มเกิดปัญหานี้ ในช่วงอายุ 30 ปี ค่ะ ซึ่งในวัยดังกล่าง มักเป็นช่วงอายุที่กำลังต้องเข้าสังคมมาก เพราะอยู่ในวัยทำงาน หากมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม จะส่งผลทำให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์ได้มาก
อย่างไรก็ตาม มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากมายสำหรับผมร่วง ที่สำคัญที่สุดก่อนรับการรักษาคือ ประเมิญปัญหาอย่างถูกต้อง ว่า ผมที่ร่วงนั้น มาจากสาเหตุอะไรบ้าง เพราะในคนไข้บางคน อาจเจอปัญหามากกว่า 1 ปัญหา ร่วมกันค่ะ
ที่นี้ หากคุณรู้จักสัญญาณเริ่มต้นของภาวะนี้ คุณอาจจะเจอต้นตอของปัญหาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรค และการเริ่มรักษาเร็ว จะได้รับผลการรักษาที่ดีกว่า การมารักษาเมื่อผมเริ่มร่วงไปเยอะมากแล้วค่ะ
1. รู้จักวงจรชีวิตเส้นผม
เส้นผมของมนุษย์เป็นโครงสร้างสามชั้นที่แตกต่างกัน ชั้นนอกสุดคือหนังกำพร้าประกอบด้วยเซลล์ที่ทับซ้อนกันซึ่งปกป้องเส้นผมจากความเสียหาย หรือ เรียกว่า cuticle
ในชั้นกลางหรือ เนื้อผม หรือเรียกว่า cortex ประกอบด้วยเม็ดสีซึ่งกำหนดสีผมของคุณ และประกอบด้วยโปรตีนชนิดต่างๆ ซ้อนทับกัน
และสุดท้าย แกนด้านในสุดของเส้นผม หรือ medula แกนนี้ จะเชื่อมลงไปถึงรากผมถึงโคนศีรษะ อ่านรายละเอียดต่อในบทความนี้นะคะ
2. ผมร่วงบางคือ อะไร
ผมร่วงหรือผมร่วงหมายถึงผมบางผิดปกติ คนไข้มักเป็นคนสังเกตุได้ และอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงมากถึงระดับหนึ่ง จึงเริ่มเข้ามาปรึกษาแพทย์
โดยปกติ ผม หรือขน จะมีการผลัดร่วง และงอกใหม่ อยู่เสมอ โดยปกติแล้วจะหนาขึ้นและหยาบขึ้นตามอายุ วัฏจักรการเจริญเติบโตของเส้นผมประกอบด้วยสามระยะ : ระยะเติบโต (Aanagen), ระยะพัก (Catagen) และระยะร่วง (Telogen)
โดยส่วนมากจะเป็นผมระยะเติบโต มีเพียง 10-15% เป็นผมระยะร่วง ค่ะ
ในผู้ชายมักประสบปัญหาผมบาง จนถึงศีรษะล้านแบบผู้ชาย เพราะฮอร์โมน หรือ เรียกว่า AGA: androgenetic alopecia ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) มากเกินไป หรือ เซลรากผมตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้นเร็วเกินไป จนทำให้ผมร่วงออกมาค่ะ
ผมร่วงเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนจำนวนมาก ผมร่วงอาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมทั้งพันธุกรรมและอายุ สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจกับผมร่วงประเภทต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถรักษาได้อย่างเหมาะสม
ผมร่วงสามประเภทที่พบบ่อยที่สุดคือ:
- ผมร่วงแอนโดรเจเนติก AGA (พันธุกรรม)
- ภาวะผมช๊อคหรือผมเครียด Telogen effluvium และ
- ผมร่วงเป็นหย่อม Alopcia areata ค่ะ
AGA
ผมร่วงพันธุกรรม
TE
ผมร่วงทีโลเจน
AA
ผมร่วงเป็นหย่อม
3. ภาวะผมร่วงในผู้หญิง
ทำไมต้องมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง เพราะผู้หญิงที่ประสบภาวะผมร่วง มักเครียดกว่าผู้ชายค่ะทีนี่ เราจะลงรายละเอียดของสาเหตุของผมร่วงในผู้หญิง พร้อมทั้งแนวทางการป้องกันและรักษาปัญหานี้ด้วยกันนะคะ
อันดับแรกสุด เราต้องดูสาเหตุว่า ผมร่วงที่เกิดขึ้น เป็นแบบมีแผลเป็นหรือไม่มีแผลเป็นกันค่ะ หากมีแผลเป็น หรือ Scarring alopecia ต้องสืบหาสาเหตุ และรักษาโรคหรือภาวะนั้นๆที่ทำให้เกิดการอักเสบของหนังศีรษะจนเกิดแผลเป็น ค่ะ กรณีนี้ มักร่วงถาวร
อันดับต่อมา หากผมที่ร่วง ร่วงแบบไม่มีแผลเป็น สาเหตุที่พบบ่อย มีด้วยกัน บ่อยๆ คือ ผมร่วงจากพันธุกรรม หรือ female AGA กรณีนี้ รูปแบบการร่วงจะบางกระจายทั่วศีรษะ ไม่ได้เหมือนในผู้ชายที่มีรูปแบบการร่วงชัดเจน จากง่ามหน้าผาก, กลางศีรษะ และลามมาชนกันเป็นบริเวณกว้าง
แต่ AGA ในผู้หญิงจะบางกระจายตัวเป็นวงกว้าง อาจจะสังเหตุเห็นว่า เริ่มจากรอยแสกที่กว้างขึ้นค่ะ กรณีนี้ เมื่อมาพบแพทย์ คุณหมอจะซักประวัติครอบครอบ และตรวจรูปแบบการร่วงของผม และอัตราส่วนของผมระยะต่างๆประกอบค่ะ
ต่อมาสามเหตุของผมร่วงในผู้หญิงที่ผมบ่อยคือ ผมร่วงจากภาวะผมช๊อคหรือผมเครียด หรือ Telogen effluvium ต่อไปนี้ จะเรียกสั้นๆว่า TE นะคะ
4. ผมร่วงจากภาวะผมช๊อคหรือผมเครียด
TE เกิดจากอะไร อธิบายสั้นๆ เกิดจากเส้นผม เข้าสู่ระยะพักและร่วง หรือ Telogen phase พร้อมกันเป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า ผมร่วงระยะพักผม หรือ Telogen Effluvium นั่นเองค่ะ
แล้วอะไรทีทำให้เส้นผมเข้าสู่กระบวนการพักพร้อมๆกันเป็นจำนวนมาก อ่านกันค่ะ
4.1 ผมร่วงหลังคลอด Postpartum TE
เพราะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เส้นผมจะเข้าสู่ ระยะพัก หรือ Telogen phase พร้อมๆกัน ทำให้ หลังจากเมื่อคลอดแล้ว ผมจะร่วงพร้อมๆกันเป็นจำนวนมาก ในช่วง้ดือนที่ 2-3 หลังคลอด ภาวะการร่วงหลังคลอดนี้ เกิดขึ้นได้ประมาณ 20% ของผู้หญิงหลังคลอดค่ะ
4.2 ผมร่วงหลังการหยุดใช้ยาบางชนิด
การหยุดยาปบางชนิดโดยทันที เช่น การใช้ยาที่มีเอสโตรเจนเป็นเวลานาน หรือ ยาปลูกผมกลุ่ม ไมน็อกซิดิลและฟิแนสเทอไรด์ ทำให้เกิดการหยุดชะงักของระยะการเจริญเติบโดของผมพร้อมๆกัน ก่อให้เกิดการร่วงพร้อมๆกัน ในช่วง 3-4 เดือนหลังจากหยุดยาค่ะ
4.3 ผมร่วงจากการขาดอาหาร หรือสารอาหารสำคัญ
ภาวะโภชนาการไม่เพียงพออาจทำให้ผมร่วงได้ โดยเฉพาะในภาวะขาดอาหารเรื้อรัง โดยลักษณะผมที่ร่วงจะสังเกตุเห็นว่ามีการฝ่อลีบของรากผมด้วยค่ะ
การขาดวิตามินหรือสารอาหารบางชนิด ก็ทำให้ผมร่วงได้ค่ะ เช่น ภาวะขาดวิตามินซี, ภาวะขาดวิตามิน,ภาวะขาดธาตุสังกะสี, ภาวะขาดวิตามินไรโบฟลาวิน ,ภาวะขาดกรดโฟลิก หรือ ภาวะขาดวิตามินบี 12 เป็นต้นค่ะ
แม้ว่าภาวะขาดอาหาร หรือสารอาหารสำคัญ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงได้ แต่ การรับประทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงผม ก็ควรรับประทานอย่างระมัดระวัง เพราะ มีสูตรแตกต่างกันไปให้แต่ละยี่ห้อ
อีกทั้งปริมาณโดสของสารอาหารแต่ละชนิด ขนาดรับประทานก็อาจไม่ได้เหมาะสมกับทุกๆคน
โดยปกติ สัดส่วนของอาหารเสริมในบางรายการ อาจจะต้องมีการจำกัดปริมาณการรับประทานต่อวัน หรือระยะเวลาที่สามารถรับประทานต่อเนื่องกันด้วยนะคะ
ทีนี้ จะรับประทานอาการเสริมอย่างไรให้ปลอดภัย แนะนำว่า ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสภาพผมที่ท่านประสบปัญหานั้น ควรรับประทานอาหารเสริมหรือไม่ และถ้าควรเสริมสารอาหารลงไป ควรรับประทานสารตัวไหนบ้าง กี่เม็ด และทานต่อเนื่องกันได้ไหมนะคะ
5. ประเด็นสำคัญของ ผมร่วงจากภาวะ TE
5.1 การร่วงแบบเฉียบพลัน Acute Telogen Effluvium
ถ้าเป็นการร่วงแบบเฉียบพลัน คือไม่เกินระยะเวลา 6 เดือน และได้รักษาสาเหตุของการก่อให้เกิดผมร่วงจากภาวะผมช๊อคหรือผมเครียดไปแล้ว
ส่วนมากเส้นผมจะค่อยๆกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ค่ะ เช่น หลังคลอดลูก หากพ้นระยะที่ร่วงมากๆไปแล้ว ก็จะกลับมาหยุดร่วง เป็นต้นค่ะ
หรือ ภาวะขาดสารอาหาร หลังจากได้รับสารอาหารเข้าไป หลังจากร่างกายได้รับสารอาหารและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ มีรายงานว่า ภายใน 2-4 สัปดาห์ ผมก็จะหยุดร่วง และเริ่มงอกกลับมาค่ะ
5.2 การร่วงแบบเรื้อรัง Chronic Telogen Effluvium
ถ้าเป็นการร่วงแบบเรื้อรัง คือ ร่วงเกินระยะเวลา 6 เดือน อันนี้ อาจจะรักษายากหน่อย เพราะส่วนมากจะประกอบด้วยปัญหาหลายๆอย่าง รวมทั้งความเครียดของคนไข้ที่ประเมิณได้ยากแล้วว่า เครียดแล้วผมร่วง หรือ ผมร่วงมากเลยเครียดค่ะ
5.3 การร่วงแบบผสมกับปัญหาผมร่งจากพันธุกรรม Chronic Telogen Effluvium+AGA
การมีปัญหาผสมปนเปกันมากกว่า 1 ปัญหา เป็นไปได้ค่ะ ตรงนี้ นอกจากการซักประวัติแล้ว แพทย์จะประเมิญจากรูปแบบการร่วงของผมค่ะ
และอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เพื่อนับแยกระยะของเส้นผมในช่วงเติบโต หรือ ในช่วงพักพร้อมร่วงค่ะ
Pulled out hairs were classified microscopically by morphology
6. การทดสอบ Modified Wash Test (MWT)
MWT เป็นวิธีการที่ง่ายและสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ใช้สำหรับการวินิจฉัยและการประเมินความรุนแรงของผมร่วง
วิธีการนี้วิเคราะห์โดยมีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่าใน TE มีเพียงผมระยะพักสุดท้ายเท่านั้นที่จะหลุดร่วง แต่ใน ภาวะผมร่วงจากพันธุกรรม AGA ผมที่ร่วงจะมีระยะขนอ่อนหรือ Villus hair ที่ร่วงออกมาด้วย
วิธีทดสอบ The wash test (modified) งดสระผม ประมาณ 5 วัน และสระผม จากนั้น รวบรวมเส้นผมที่ร่วงหลังจากการสระผมมานับ และตรวจลักษณะรากของเส้นผม
ผมที่ความยาวสั้นกว่า 3 เซนติเมตร ให้นับเป็นผมอ่อน หรือ villus hair
ปริมาณเส้นผมทั้งหมดที่ร่วงบ่งบอกความรุนแรงของภาวะผมร่วง telogen effluvium
การแปลผล หากจำนวนผมที่ร่วงนับรวมกันเกิน 100 เส้น คนไข้เป็นภาวะผมร่วงแบบ telogen effluvium และจำนวนของผมอ่อนที่ร่วง บ่งบอกว่าคนไข้มีผมร่วงจาพพันธุกรรม AGA ปนอยู่ด้วยค่ะ
ถ้าผมร่วงนับได้เกินกว่า 100 เส้น คนไข้มีภาวะผมร่วงจาก telogen effluvium และถ้ามีผมอ่อน villus hair ปนร่วงมา เกิน 10% คนไข้มีทั้งสองภาวะ คือร่วงจาก telogen effluvium และมีกรรมพันธุ์ผมร่วงด้วยค่ะ
7. สรุปแนวทางการดูแลรักษา
ผมบางอาจทำให้คุณวิตกกังวล แต่ก็มีหลายวิธีที่จะรักษามันได้ สำหรับแนวทางการประเมิณของแพทย์ในการวางแผนการรักษาหลักอาจจะไม่ต่างจากการประเมิณในผู้ชาย แต่อาจมีรายละเอียดเล็กๆน้อยที่รูปแบบแตกร่างกันไประหว่างเพศค่ะ
ภาวะผมร่วงผู้หญิงส่วนใหญ่ สามารถรักษาและแก้ให้หายได้ และต้องการวิเคราะห์อย่างตรงจุด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ นะคะ เพราะแต่ละปัญหา อาจใช้วิธีรักษาที่แตกต่างกันค่ะ
การรักษา เช่น ทั้งการบำรุงด้วย การฉีดโกรธแฟคเตอร์ , การให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูเส้นผมและหนังศีรษะ, การใช้ยาทาเฉพาะจุดเพื่อกระตุ้นให้รากผมงอกเร็วขึ้น หรือแม้กระทั่ง การปลูกผม ค่ะ
หากคุณสนใจที่จะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถช่วยเหลือคุณได้ โปรดติดต่อเราวันนี้เพื่อทำการนัดหมาย ปรึกษานัดหมายที่ Line ID : @PureAndBright
❝Patience is a virtue. Keep doing what you want to do and eventually things will happen.❞
– Arian Foster
เอกสารอ้างอิง
Telogen Effluvium: A Review of the Literature.
Asghar F, Shamim N, Farooque U, Sheikh H, Aqeel R. Cureus. 2020 May 27;12(5):e8320. doi: 10.7759/cureus.8320. PMID: 32607303
Telogen effluvium: a comprehensive review.
Rebora A. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2019 Aug 21;12:583-590. doi: 10.2147/CCID.S200471. eCollection 2019. PMID: 31686886
Analysis of Microscopic Examination of Pulled Out Hair in Telogen Effluvium Patients.
Park SH, Seol JE, Kim DH, Kim H. Ann Dermatol. 2020 Apr;32(2):141-145. doi: 10.5021/ad.2020.32.2.141. Epub 2020 Mar 11. PMID: 33911725
Assessing the reliability of the Modified Wash Test.
Guarrera M, Cardo PP, Rebora A. G Ital Dermatol Venereol. 2011 Aug;146(4):289-94. PMID: 21785395
Safety Concerns of Skin, Hair and Nail Supplements in Retail Stores.
Perez-Sanchez AC, Burns EK, Perez VM, Tantry EK, Prabhu S, Katta R. Cureus. 2020 Jul 30;12(7):e9477. doi: 10.7759/cureus.9477. PMID: 32874806