ผมร่วงเยอะมาก เกิดจากอะไร
ปัญหากวนใจหลายๆคน ในหลายๆวัย คือ “ผมร่วงเยอะมาก”
ก่อนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจพื้นฐานของเส้นผม และ ภาวะผมร่วงกันนิดนึงนะคะ ก่อนเข้าใจว่าอะไรคือภาวะไม่ปกติ เราต้องเข้าใจ ภาวะปกติ คือ สรีระวิทยาทั้งระบบของเส้นผมและหนังศีรษะก่อนค่ะ
เข้าใจทุกกระบวนการ เช่น กระบวนการสร้าง และหลุดร่วงของเส้นผมในภาวะปกติ หลังจากนั้น เราก็จะมาทำความเข้าใจภาวะไม่ปกติต่างๆ เพื่ออธิบาย สาเหตุ ผมร่วง ได้ และสามารถตอบคำถาม ผมร่วงเกิดจากอะไร ได้นะคะ
ความรู้พื้นฐาน เส้นผมและหนังศีรษะ
เส้นผมแต่ละเส้น ประกอบด้วย ก้านเส้นผม ต่อไปนี้เราจะเรียกสั้นๆว่า เส้นผมนะคะ หรือ “hair shaft” อันนี้คือส่วนที่เรามองเห็นค่ะ กับส่วนด้านล้างที่ฝังลงไปในหนังศีรษะ เรียกว่า รากผม หรือ “hair follicle” ค่ะ
เส้นผม มีองค์ประกอบใหญ่ๆสองส่วนด้วยกันค่ะ คือ เปลือกผม (cortex) ซึ่งห่อหุ้มล้อมรอบแกนผม (central medulla) อีกที ชั้นด้านนอกของเส้นผมเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะต่างๆของเส้นผม เช่น ความแข็งแรง รูปสัมผัส และสีของเส้นผมค่ะ (strength, texture, and color) ส่วนนี้จะประกอบไปด้วยเส้นใยเล็กๆ (macrofibrils) ประสายร้อยเรียงกันเป็นเส้นค่ะ
ส่วนต่อมาคือ ส่วนของรากผมใต้ผิวหนัง หรือ “follicle” ค่ะ ส่วนนี้นี่แหละที่มีความสำคัญในการสร้างเส้นผมออกมาเรื่อยๆ ส่วนนี้ประกอบด้วย รากผมส่วนนอก (Outer root sheath) และ รากผมส่วนใน (Inner root sheath)
มาลงรายละเอียดกันทีละส่วนค่ะ เริ่มด้วย รากผมส่วนนอก หรือ “outer root sheath” ต่อไปนี้จะเรียกสั้นๆ ว่า ORS ส่วนนี้จะมีเซลต้นกำเนิดของเซลผิวหนังหลายชนิด (multipotent stem cells) ซึ่งจะเติบโตไปเป็น เซลผิวหนัง (keratinocytes) และ เซลเม็ดสี (melanocytes) ค่ะ ตรงส่วนนี้ จะเป็นเซลกลุ่มที่เกาะไปกับด้ายในของรากผมใต้ผิวหนังทั้งบริเวณ และต่อเนื่องไปกับกล้ามเนื้อ arrector pili muscle หรือเราคุ้นกันในชื่อ กล้ามเนื้อขนลุกนั่นเอง กับ ท่อและรูเปิดของต่อไขมันค่ะ sebaceous gland
องค์ประกอบต่อมาของรากผม รากผมส่วนใน หรือ “inner root sheath” ต่อไปนี้จะเรียกสั้นๆ ว่า IRS ส่วนนี้จะยาวต่อเนื่องไปถึงส่วนของเส้นผม หรือ hair shaft ที่งอกพ้นจากรูขุมขนค่ะ (ดูภาพภาพประกอบนะคะ)
เรามี ผม หรือ ขน กี่แบบ เส้นผมในปบบที่เรารู้จักคุ้นเคย คือเส้นผมบนศีรษะ นั่นคือ เส้นขนที่โตเต็มที่แล้ว มีสีแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติที่กำหนดคุณลักษณะทางพันธุกรรมมา เส้นผมบนหนังศีรษะของผู้ใหญ่จะเป็นเส้นผมที่พัฒนาสูงสุดแล้ว เราเรียกว่า “terminal hair” ค่ะ
แต่ถ้าสังเกตุดีๆเราจะเห็นเส้นผมเส้นเล็กๆที่เป็นขนอ่อนๆ ตามร่างกายของเรา มีลักษณะเส้นที่บางกว่า สั้นกว่า สีจางกว่า เส้นผมบนหนังศรีษะ เรียกว่าขนอ่อน หรือ .”vellus hair” ค่ะ ตอนเป็นทารกขนอ่อนนี้จะมีชื่อเรียกจำเพาะว่า “lanugo hair” นะคะ
เอาหละ มาถึงเส้นผมแบบสุดท้ายที่ต้องทำความรู้จักกัน คือผมที่ร่วง ปกติถ้าเราสังเกตุผมที่หลุดออกจากร่างกายจะเห็นว่า บางเส้นมีรากผมกลมๆ นั่นเราเรียก “Club hair” ค่ะ เกิดจากการสร้างกลุ่มเส้นใยเคอราตินมาหุ้มรากผมระยะพร้อมร่วง หรือ “telogen stage” ค่ะ
ผมร่วง และ ภาวะผมร่วงเฉียบพลัน หลังป่วย
ก่อนจะไปเรื่องผมร่วง มีศัพท์อีกกลุ่มหนึ่งที่เราต้องเข้าใจนะคะ วงจรของชีวิตเส้นผม ใน 1 เส้น ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะเติบโต หรือ anagen, ระยะเปลี่ยนถ่าย หรือ catagen, และ สุดท้าย ระยะพัก (ร่วง) หรือ telogen ค่ะ
ระยะเติบโต หรือ anagen คือ ระยะที่เซลมีการสร้างเส้นผม หนึ่งรากผม จะอยู่ในช่วงระยะนี้ 2-6 ปี ค่ะ
ต่อมา ระยะเปลี่ยนถ่าย หรือ catagen เป็นระยะที่เซลในระยะเติบโตเริ่มหยุดหัก กินเวลาไม่นานมา 1-2 สัปดาห์ค่ะ
ระยะสุดท้าย ระยะพัก (ร่วง) หรือ telogen เมื่อผ่านระยะเปลี่ยนถ่ายมา เซลที่หยุดพักจะเริ่มตายลง และคอลลาเจนรอบๆเส้นผมเริ่มมาเกาะรอบๆรากผม ทำให้หากร่วงออกมาจะเป็นเป็นกระเปาะกลมๆ เลยเรียกว่า “club hair” นั่นเองค่ะ ระยะนี้ กินเวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ แล้วก็จะร่วงค่ะ
ในทางการแพทย์พบว่า บางภาวะของร่างกาย กระตุ้นให้รากผมเข้าสู่ระยะพักพร้อมๆกัน และสิ่งที่เห็นคือ ผมร่วงปริมาณมากๆพร้อมๆกันได้ ที่เราทราบดีแล้วคือ โรคไทรอยด์ (hypothyroidism, hyperthyroidism), ภาวะเครียด (stress), ภาวะขาดวิตามินบางชนิด (vitamin deficiencies), และหลังคลอดบุตร (after childbirth) เป็นต้นค่ะ
ส่วนมากของประชากรเส้นผมทั้งหมดในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง จะเป็นผมระยะเติบโต คือ Anagen ประมาณ 85-90% ค่ะ เป็น เส้นผมระยะพัก Telogen ประมาณ 10-15% ค่ะ และที่เหลือส่วนน้อยมากๆ ซึ่งเสังเกตุได้ยากว่าเป็นเส้นไหน คือ ระยะเปลี่ยนถ่ายหรือ Catagen ค่ะ
เส้นผมหรือเส้นขนเป็นอวัยวะที่มีการตอบสนองที่พิเศษกับร่างกาย ค้นพบคุณลักษณะนี้ครั้งแรก โดย Sir Peter Medawar ในปี คศ.1948 เรียกว่า การ immune privilege หรือ เรียกสั้นๆว่า IP
โดยกลุ่มของเซลเส้นผมจะมีการตอบสนองกับสารต่างๆที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น สารโกรธแฟคเตอร์บางชนิด TGF-beta, ที่หลั่งโดยเม็ดเลือดขาว T cells
ฮอร์โมนบางชนิด
ตัวกระตุ้นบางชนิดมีผลอย่างมาก เช่น เฉพาะ ฮอร์โมนเพศชาย androgensโดดเด่นมากให้การกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมและขนในบาวบริเวณ เช่น ใบหน้า (face), ลำตัว (trunk), แขนขา (extremities)ในผู้ชาย และดารตอบสนองต่อฮอร์โมนดังกล่าว อาจแปรผันตามเชื้อชาติ เช่น ชายชาวจีน ผมบางกว่าชายชาวยุโรปเป็นต้นค่ะ
Hair Cycle
วงจรชีวิตของเส้นผม
ภาวะผมร่วงที่พบบ่อย
ปัญหาผมที่พบบ่อย คือ ผมร่วง เป็นได้ทั้งร่วงจากโรคที่เกิดกับเส้นผมและหนังศีรษะโดยตรง หรือเกิดจากสภาวะของร่างกายโดยรวม เช่ย ขาดสารอาหาร (nutritional deficiencies), หลังป่วยด้วยโรคติดเชื้อ (infectious causes), ปฏิกิริยาจากยา (drug reactions) เป็นต้น
ปัญหาผมร่วง หรือที่เรียกเป็นภาษาแพทย์ว่า alopecia เป็นปัญหาที่ไม่พึงประสงค์กับผู้คน เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงกับความสวยงาม ภาวะนี้ เป็นไปได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงค่ะ โดยตรม ภาวะผมร่วง ปบ่งเป็นสองชนิด คือ ผมร่วงแบบไม่มีมีแผลเป็น (non-scarring) และผมร่วงแบบมีแผลเป็น(scarring หรือ cicatricial) ค่ะ
ภาวะผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นที่พบบ่อยที่สุด คือ ผมร่วงจากฮอร์โมน หรือ androgenetic alopecia alopecia หรือเรียกสั้นๆว่า AGA นั่นเองค่ะ ภาวะนี้จะร่วงเป็นแบบแผนตามกระกระจายตัวของฮอร์โมนค่ะ เป๋นภาวะที่สืบทอดกันทางพันธุกรรมบวกับการตอบสนองของรากผมต่อฮอร์โมนค่ะ
AGA ในผู้ชายเริ่มต้นจากรอยเว้าทางด้านของของหน้าผากค่ะ หรือที่เราเรียกว่า หน้าผากเว้ารูปตัว M นั่นเองค่ะ ซึ่งต่อมาจะบางบริเวณหน้าผากระหว่างขาของตัว M ด้วยค่ะ และต่อมาจะบางที่กลางกระหม่อม หากเป็นมากๆ บริเวณเหล่านี้ อาจลามถึงกันหมดค่ะ AGA ในผู้หญิงอาจบางเป็นรูปแบบกระจายทั่วๆศีรษะค่ะ ที่คนไข้จะสังเกตุเห็น คือรอยแสกกว้างค่ะ
ที่นี้ มาดู ภาวะผมร่วงที่พบบ่อยอื่นๆ นะคะ
ผมร่วงเป็นหย่อม หรือ Alopecia areata (AA) เป็นการหลุดร่วงของผมเป็นหย่อมๆ เกิดได้ทั่วร่างกาย แต่มักพบได้บนหนังศีรษะ ผมis มักพบลักษณะเฉพาะของผมที่ร่วงตรงขอบ เป็นเส้นผมที่หัก คล้ายเครื่องหมายตกใจ หรือ “exclamation point” hairs
ถ้าร่วงหมดทั้งศีรษะ จะเรียกว่า Alopecia totalis ถ้าร่วงหมดทั้งร่างกายจะเรียกว่า Alopecia totalis ค่ะ
ผมร่วงแบบมีแผลเป็น Scarring alopecia อันนี้ เป็นการร่วงถาวร ผมจะไม่ขึ้นอีก เพราะผิวหนังเป็นพังผืดแผลเป็น รากผมถูกทำลาย มักเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ หรือโรคผิวหนังบางอย่าง เช่น ลูปัสของผิวหนัง
ผมร่วงจากการเข้าสู่สภาวะพักพร้อมกันครั้งละมากๆ หรือ Telogen Effluvium หากเกิดในช่วงะยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 6 เดือน คือภาวะผมร่วงเฉียบพลัน หาก นานเกิน 6 เดือน คือผมร่วงแบบเรื้อรังค่ะ
โควิด และ ผมร่วง
จากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2562 มีโรคระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก จากเชื้อโคโรน่าไวรัส ที่รู้จักกันดีว่า โควิด 19 หรือ Covid19 นั้น
พบว่า มีการศึกษาและติดตามจากศูนย์การแพทย์หลายแห่ง มีรายงานการเกิดผมร่วงหลังจากที่ผู้ป่วยหายจากภาวะโควิดแล้ว โดยมีลักษณะการร่วงแบบผมร่วงจากการเข้าสู่สภาวะพักพร้อมกันครั้งละมากๆ หรือ Telogen Effluvium เป็นแบบ Acute หรือแบบเฉียบพลัน
ในบางรายหากมีอาการเครียดอื่นๆ เช่น เครียดจากภาวะล๊อคดาวห์ร่วมด้วย มีรายงานว่าผมที่ร่วงก็ร่วงแบบแบบเรื้อรังด้วยค่ะ มากไปกว่านั้น การร่วงของผม อาจทำให้สภาวะบางอย่างที่คนไข้อาจมีอยู่เดิมชัดเจนขึ้นด้วย เช่น มีผมร่วงบางจากกรรมพันธุ์อยู่บ้างก่อนหน้า แต่สังเกตุเห็นไม่ชัด ต่อมาเมื่อมีการร่วงแบบเฉียบพลัน ก็เห็นชัดเจนขึ้นค่ะ
ระยะเวลาที่ผมร่วง เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณเดือนครึ่งหลังจากการป่วยด้วยโควิด ซึ่งเร็วกว่า Telogen Effluvium จากโรคอื่นๆ ที่มักจะเกิดขึ้น 2-3 เดือนหลังจากผ่านเกตุการณ์นั้นๆไปแล้วค่ะ
จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผมร่วงที่เกิดหลังการป่วยด้วยโดวิด พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายค่ะ โดยเป็นผู้หญิงประมาณ 70% ของจำนวนเคสทั้งหมด (รายงานจาก JAAD)
แพทย์ผิวหนังทำการทดสอบภาวะผมร่วงที่เกิดหลังจากการป่วยด้วยโควิดด้วยการทำ Hair pull test ค่ะ วิธีการทำ Hair pulling test และการแปลผล โปรดดูในวีดีโอนะคะ
พบว่าคนไข้ที่ผมร่วงจากโควิคมีลักษณะของเส้นผมที่น่วงเข้าได้กับ ผมร่วงจากการเข้าสู่สภาวะพักพร้อมกันครั้งละมากๆ หรือ Telogen Effluvium และเป็นแบบ Acute หรือร่วงแบบเฉียบพลัน
หากป่วยหนัก เช่นอาการของโรคมาก อายุผู้ป่วยมาก หรือภาวะแทรกซ้อนของโควิดรุนแรง สภาวะผมร่วงที่เกิดขึ้นก็มากขึ้นไปด้วยค่ะ คนไข้จะมีอาการผมเริ่มร่วงอยู่ระหว่างสัปดาห์ ที่ 2-6 หรือบางรายเร็วมาก เพียง 36 หลังจากติดเชื้อและเกิดอาหารไข้เท่านั้นเองค่ะ
Hair pulling test
วิธีทดสอบผมร่วงและการแปลผล
อ่านต่อ
สรุปแนวทางการดูแลรักษาสภาวะผมร่วง
การรักษาหรือดูแลคนไข้ในกลุ่มนี้ ก็เหมือนกับโรคอื่นๆ คือ รักษาสาเหตุของโรค คือการป่วยและอาการแทรกซ้อนของโรคหลักก่อน คือโควิด และรักษาภาวะ ผมร่วงจากการเข้าสู่สภาวะพักพร้อมกันครั้งละมากๆ หรือ Telogen Effluvium ค่ะ
โดยทั่วไป เมื่อหายจากโรคหลัก อาการร่วงของผมจะหยุดใน 6 เดือน หากเกินช่วงเวลานี้ คนไข้เข้าสู่การเป็นภาวะเรื้อรัง หรือ Chronic Telogen Effluvium แล้วค่ะ ซึ่งอาจจะต้องมีการบำบัดภาวะเครียด หรือ Stress management ร่วมด้วยนะคะ เพราะหากภาวะเครียดไม่ดีขึ้น ภาวะผมร่วงก็ไม่ดีขึ้นค่ะ
กรณีที่มีภาวะผมร่วงจากกรรมพันธุ์หรือ AGA ก็ต้องรักษาแบบ AGA ร่วมด้วยค่ะ เช่น รับประทานยาต้านฮอร์โมนหากมีข้อบ่งชี ใช้ยาเฉพาะที่ทาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตที่รากผม และกระตุ้นให้มีการงอกใหม่ของเส้นผมค่ะ
สำหรับเราแนะนำให้คนไข้ ฉีดสเต็มเซลรากผม PureCells™ และ ฉีดบำรุงด้วยโกรธแฟคเตอร์ และฉายแสงกระตุ้นรากผมร่วมด้วยค่ะ เนื่องจากเซล แสง และโกรธฮอร์โมน จะเข้าไปปรับสมดุลย์ของรากผม ผมเดิมร่วงน้อยลง ผมใหม่เกิดจากการงอกใหม่ทั้งจากเซลที่ฟื้นฟูตัวเอง และเซลรากผมที่ฉีดเข้าไปค่ะ
กรณีที่มีภาวะ AGA เดิมแล้วร่วงเห็นชัดขึ้น แนะนำให้ปลูกผมด้วยค่ะในบริเวณที่ไม่มีเซลรากผมแล้ว และยากที่จะฟื้นตัวเองขึ้นมา เพื่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับตัวท่านมากที่สุด ปรึกษาเราสิคะ นัดปรึกษาแพทย์ ทักเลย @PureAndBright
❝Money is not the only answer, but it makes a difference.❞
– Barack Obama
เอกสารอ้างอิง
Physiology, Hair.
Hoover E, Alhajj M, Flores JL. 2021 Jul 26. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2021 Jan–. PMID: 29763123
Time of onset and duration of post-COVID-19 acute telogen effluvium.
Abrantes TF, Artounian KA, Falsey R, Simão JCL, Vañó-Galván S, Ferreira SB, Davis TL, Ridenour W, Goren A, Tosti A, Wambier CG. J Am Acad Dermatol. 2021 Oct;85(4):975-976. doi: 10.1016/j.jaad.2021.07.021. Epub 2021 Jul 21. PMID: 34302903
COVID-19 infection is a major cause of acute telogen effluvium.
Sharquie KE, Jabbar RI. Ir J Med Sci. 2021 Aug 31:1-5. doi: 10.1007/s11845-021-02754-5. Online ahead of print. PMID: 34467470
Telogen effluvium related to post severe Sars-Cov-2 infection: Clinical aspects and our management experience.
Rizzetto G, Diotallevi F, Campanati A, Radi G, Bianchelli T, Molinelli E, Mazzanti S, Offidani A. Dermatol Ther. 2021 Jan;34(1):e14547. doi: 10.1111/dth.14547. Epub 2020 Nov 23. PMID: 33190397 Free PMC article.