พบแพทย์ ตรวจร่างกาย วิเคราะห์ เส้นผมและหนังศีรษะ (hair consultation)

DrBorisut Medical Consultation Cover

การปลูกผม หรือ Hair transplantation

     การปลูกผม หรือ Hair transplantation นั้น มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับปัญหาของคนไข้ค่ะ เช่น ปัจจัยทางกายภาพ หรือสภาพร่างกาย เส้นผมและหนังศีรษะของคนไข้ที่ต้องการปลูกผม, ความคาดหวัง, งบประมาณและระยะเวลาที่คนไข้มี เป็นต้น

     ขั้นตอนของการประเมิณคนไข้ ที่ประสงค์จะเข้ารับการปลูกผมที่คลินิกของเรา จะมีขั้นตอนดังนี้ นะคะ เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวคนไข้เอง ประหยัดเวลาที่สุด วางกรอบงบประมาณและกรอบเวลาเพื่อวางแผนการพักพื้นที่เหมาะสมที่สุด ของคนไข้แต่ละท่านค่ะ

     ปัจจัยที่แพทย์ต้องพิจารณา มีสองส่วนหลักๆด้วยกัน คือ ปัจจัยทางการแพทย์โดยตรง เช่น ภาวะที่เกียวกับการร่วง, สุขภาพเส้นผม ฯลฯ และ ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่เกียวกับการอธิบายทางการแพทย์

     ส่วนมากแล้ว คนไข้ต้องการปลูกผม มีความต้องการที่ชัดเจน เช่น ต้องการปรับรูปหน้า ปรับให้หน้าหวาน, ลดหน้าผากเถิก, อยากเปลี่ยนทรงผมเพื่อเปิดหน้าผาก, อยากปิดรอยแสกที่กว้าง, ผมบางลง, ผมร่วงมากขึ้น เป็นต้น แต่ละปัญหาอาจต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกผม ปัจจัยทางการแพทย์

     การพิจารณาปัจจัยทางการแพทย์ หลังจากผ่านการพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับ ปัจจัยแวดล้อมด้านตัวบุคคล แล้ว คนไข้มีความตั้งใจทำการปลูกผมแน่นอน และอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ เช่น เดินทางมาคลินิกได้ และงบประมาณในการรักษาอยู่ในเกณท์ที่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้

     แพทย์จะทำการประเมิณ ปัจจัยต่างๆทางการแพทย์ดังต่อไปนี้ นะคะ
ปัญหาของคนไข้ เหมาะสมที่จะทำการรักษาโดยการปลูกผมไหม ข้อนี้สำคัญที่สุดค่ะ เพราะไม่ใช่คนไข้ผมร่วง ผมบาง ทุกคน จะสามารถทำการรักษาโดยการปลูกผมได้ค่ะ

     เราต้องประเมิณก่อน เคสคนไข้ส่วนมากที่ต้องการเข้ารับการปลูกผมนั้น มุกจะมาด้วยการหลุดร่วงของผมอย่างมีรูปแบบค่ะ หรือเราเรียกว่า Pattern Hair Loss (PHL) ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากการมีพันธุกรรมผมร่วงจากฮอร์โมนค่ะ Andorgenictic Alopecia (AGA)

     PHL จะมีรูปแบบการร่วงจำเพาะกับเพศ คือ ในเพศชายจะมีรูปแบบการร่วง แบบ male pattern hair loss (MPHL) ซึ่งเป็นการร่วงตามแบบฉบับของ Norwood-Hamilton classifications

     ส่วนในเพศหญิง จะมีรูปแบบการร่วง แบบ female pattern hair loss (FPHL) ซึ่งเป็นการร่วงตามแบบฉบับของ Ludwig classification ค่ะ

male pattern hair loss (MPHL)

Norwood-Hamilton classifications

female pattern hair loss (FPHL)

Ludwig classification

กาประเมิณคนไข้ และข้อควรระวัง

     การปลูกผมในบทความนี้ จะหมายถึงการปลูกผมแบบย้ายราก หรือ nanoTrim FUE เป็นหลักนะคะ สิ่งที่ต้องประเมิณว่า คนไข้คนนี้ เหมาะสำหรับรักษาด้วยการปลูกผม หรือไม่มีดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. มีรูปแบบการร่วงของผมที่ชัดเจนหรือไม่
  2. ในส่วนที่ร่วงนั้น ปมร่วงเกิน 50%ของปริมาณผมเดิมหรือไม่
  3. สภาพของหนังศีรษะ ยังสมบูรณ์ อยู่หรือไม่ มีโรคอะไรไหม
  4. คุณภาพของเส้นผมบริเวณท้ายทอยที่จะนำมาปลูก สมบูรณ์หรือไม่
  5. ผมร่วง คงที่หรือยัง หรือยังร่วงอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ
  6. คนไข้มีความคาดหวังอย่างไร
  7. คนไข้มีโรคหรือภาวะใดที่เป็นอุปสรรคต่อการปลูกผม

สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการประเมิณคนไข้ทุกคน

  1. ประวัติทางการแพทย์ทั่วไป โรคประจำตัว ยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานประจำ
  2. ประวัติผมร่วง ของทั้งตัวคนไข้เอง และ ญาติ คุณพ่อ คุณแม่ เพื่อประเมิณภาวะทางพันธุกรรม
  3. ตรวจหนังศีรษะทั้งบริเวณที่จะนำผมมาปลูก (donor) และบริเวณที่ต้องการปลูก (recipient) ในผู้ชาย ให้ตรวจผมบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผมด้วย เช่น หนวด และขนบนร่างกาย
  4. ตรวจภาพผม การกระจายตัวของผมด้วย dermoscopy และ densitometry.
  5. ถ้าผิวหนังบริเวณใดน่าสงสัย สามารถตัดตรวจชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

Trichoscopy

Videodermoscopy of hair and scalp .

     ในการซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการคัดประวัติที่เกียวเนื่องกับผม การงอก การร่วง ให้มากที่สุด รวมไปถึง ประวัติสุขภาพทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว ยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานเป็นปประจำ (ถ้ามี) เพราะอาจะเกี่ยวกับทั้งด้านสุขภาพต่อเส้นผมโดยตรง และการงอกของผมหลังปลูกผมด้วยค่ะ

     การตรวจผมนั้น แพทย์จะทำการตรวจทั่วบริเสณทั้งศีรษะและขนตามร่างกายทั้งหมดด้วยนะคะ เพื่อ ดูรูปแบบของการบางหรือร่วง หรือ เพื่อดูรูปแบบการร่วงบาง หรือ เราเรียกว่า ดู miniaturization of hair เพราะจะสามารถบอกได้ว่าเป็นรูปแบบการร่วงบางแบบไหน (PHL)

     การตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการดู สาเหตุอื่นๆที่ส่งผลต่อสุขภาพเส้นผมด้วย เช่น ระดับความหนาแน่น (density), สะเก็ดหรือการแดงอักเสบ (scaling or redness of the scalp), รูขุมขนยังมีหรือฝ่อไปแล้ว (loss of follicular ostia) หนังศีรษะบางจนขึ้นเงามันหรือเปล่า (shininess) การร่วงนั้น เป็นการร่วงเป็นหย่อมๆ หรือร่วงกระจายทั่วทั่วๆ เป็นต้น เพราะรูปแบบเหล่านี้ ส่งผลต่อการวางแผนการรักษา และ ผลการรักษาด้วยค่ะ

     การมาพบแพทย์ มีการตรวจอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก คือ การตรวจด้วยกล้องกำลังขยายสูง เพื่อดูความหนาแน่น และการกระจายตัวของเส้นผม (dermoscopy/densitometry) ของเส้นผมและหนังศีรษะทั้งบริเวณที่จะนำมาปลูกและบริเวณที่จะรับการปลูก เพื่อประเมิณระดับการบางตัว (degree of miniaturization), เปอร์เซ็ต์ของเส้นผมที่บางลง (percentage of loss density), และอาจตรวจพบพยาธิสภาพอื่นๆด้วยค่ะ

     การแปลผลขนาดของเส้นผม จากเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม
          ผมบางเส้นเล็ก fine hair (60 to 65 microns),
          ผมขนาดกลาง medium hair (65- 80 microns),
          ผมเส้นใหญ่ coarse hair (greater than 80 microns)

     ความหนาแน่นของเส้นผม โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นพื้นที่นำกราฟออกมาปลูก donor region ถ้าหนาแน่นต่ำกว่า 60 follicular units (FUs)/cm 2 ถือว่าบาง อาจจะพิจารณา การรักษาด้วยวิธีอื่น หรือ ถ้าทำก็ไม่สามารถนำกราฟออกมาได้มากนักค่ะ

     ในกรณีที่สงสัยว่า มีความผิดปกติของผิวหนังบริเวณที่จะนำกราฟออกมา เช่น บางผิดปกติ หรือ ผิวหนังดูไม่ปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจค่ะ

กรณีที่ไม่เหมาะกับการปลูกผม

(Contraindications to Transplantation in Patterned Hair Loss)

1. ผมร่วงกระจายเป็นบริเวณกว้าง (Diffuse unpatterned alopecia หรือ DUPA)

     กรณีนี้ ผมที่ร่วง จะกระจายตัวกันบางแบบไม่มีรูปแบบ ไม่ได้กระจุกตัวบางเฉพาะบริเวณกลางศรีษะ หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง การบางหรือร่วง อาจจะเป็นบริเวณใดก็ได้บนหนังศีรษะ เช่น ขมับ (temporal), หน้ากกหู ​(parietal), หรือแม้แต่กระทั่งท้ายทอย (occipital)

     DUPA ปลูกผมไม่ได้ หากตรวจเจอการบางตัวของเส้นผมบริเวณด้านหลังของศรีษะที่จะนำรากผมออกมา ควรยืนยันด้วยการตรวจด้วยกล้องกำลังขยายสูงทันที หรือหากยังไม่แน่ชัดอาจมีการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า เส้นผมบริเวณที่จะนำมาปลูกมีความเหมาะสม และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

     ภาวะผมร่วงกระจายตัว Diffuse Patterned Alopecia หรือ DPA เป็นภาวะผมร่วงกระจาย ที่มีรูปแบบการร่วงชัดเจน แต่เป็นรุนแรงมากขึ้น เมื่อตรวจร่างกายจะพบรูปแบบการร่วงของผมที่บางเป็น Pattern DPA ปลูกผมได้

     เช่น ในรูปแบบของการบางในเพศชาย Norwood patterns จะบางกลางศีรษะมากกว่าบริเวณอื่นๆ เป็นต้น DPA สามารถปลูกผมได้ ส่วน DUPA ไม่แนะนำให้ปลูก

2. ผมร่วงแบบมีแผลเป็น (Cicatricial Alopecias หรือ CAs)

     ผมร่วงแบบมีแผลเป็น อาจจะมีรูปแบบ คล้าย PHL หรือ ไม่มีรูปแบบก็ได้ค่ะ ผมร่วงแบบมีแผลเป็นนี้ นอกจากจะล้มเหลวในการปลูกผมแล้ว การปลูกผมยังทำให้โรคต่างๆที่คนไข้เป็นแย่ลงอีกด้วยค่ะ

     ผมร่วงแบบมีแผลเป็น เกิดจาก การที่คนไข้มีโรคผิวหนังบางชนิดที่ทำให้เกิดแผลอักเสบ การปลูกผมไม่สามารถทำได้ในขณะที่มีการดำเนินของโรค และถึงแม้จะอยู่ในสภาวะที่โรคสงบแล้ว ก็ไม่ควรทำปลูกผม เพราะการปลูกผมอาจจะทำให้กระตุ้นการดำเนินของโรคกลับมาอีกได้

     ยกตัวอย่าง กลุ่มโรคผิวหนังกลุ่มนี้ lichen plano pilaris (LPP), Central Centrifugal Cicatricial Alopecia (CCCA), discoid lupus erythematosus (DLE)

     ซึ่งหากมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ก็จะพบความผิดปกติของผิวหนัง เช่น ผมร่วงเป็นกระจุก (patchy hair loss), รูขุมขนอักเสบแดง, รูเปิดของขนหายไป (loss of follicular ostia), ผิวหนังขึ้นเป็นมัน (shininess of the skin), แผลเป็นของหนังศีรษะ, ผมร่งไปเฉยๆโดยไม่มีการเริ่มบางก่อนร่วง

     การตรวจร่างกายอย่างละเอียดอาจจะพบภาวะที่มีความซับซ้อนไปกว่าหนึ่งโรค เช่น คนไข้บางคนอาจจะเป็นไปได้ ที่มีทั้ง ร่วงบาง (PHL) และมีโรคผิวหนังกลุ่มที่ทำให้เกิดแผลเป็นร่วมอีก จะเห็นได้ว่า แนวทางการรักษาจะเปลี่ยนไปทันทีนะคะ

DUPA

Diffuse unpatterned alopecia

Diffuse Patterned Alopecia หรือ DPA

DPA

Diffuse Patterned Alopecia

Cicatricial Alopecias หรือ CAs

CAs

Cicatricial Alopecias

Alopecia areata หรือ AA

AA

Alopecia areata

3. ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata หรือ AA)

     ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata หรือ AA) เป็นภาวะที่ผมร่วงเป็นกระจุก เป็นโรคทางภูมิคุ้มกัน โดยที่ร่างกายของคนไข้ สร้างภูมิค้มกันต่อรากผมของตัวเอง ทำให้ผมบริเวณนั้นร่วง อาจจะเกิดร่วมกับภาวะผมร่างแบบมีรูปแบบ PHL

     ภาวะผมร่วงเป็นหย่อมนี้ เกิดตรงไหนของร่างกายก็ได้ เช่น บนศีรษะ, หนวด, ขนแขน การตรวจเจอปื้นแปลกๆ ก็ไม่ควรถูกมองข้าม ควรได้รับการตรวจอย่างละเอียดว่าขนบริเวณนั้น มีสภาพดปฌนเช่นไร ใช่ ภาวะผมร่วงเป็นหย่อมบนร่างกายที่มีแต่ขนอ่อน จนสังเกตเห็นไม่ชัดหรือไม่

4. คนไข้ที่ยังคงมีผมร่วงอยู่ไม่เข้าที่ (Patients with unstable hair loss)

     การการบางลงของเส้นผมยังคงดำเนินอยู่ แต่ไม่เกิน 15%ของพื้นที่ ที่จะทำการปลูกทั้งหมดยังสาสมารถปลูกได้ เพราะอัตราการร่วงต่อของผมเก่าจะไม่มากจนเกินไป

     แต่ในทางกลับกันหากอัตราการร่วงของผมบริเวณที่ต้องการปลูกผมมากเกิน 15%ของพื้นที่ๆจะปลูก การร่วงต่อเนื่องของผมเดิมในพื้นที่อาจจะมากจนสังเกตุเห็นอาการบางต่อหลังจากผมใหม่เริ่มขึ้นมาแล้ว ทำให้ดูเหมือนว่า ผมยังคงบางหลังปลูก

     การรับประทานยาเพื่อชะลอการหลุดร่วงของผมในบริเวณเดิม อาจมีความจำเป็นในกรณีนี้ เพื่อละลออัตราการร่วงของผมบริเวณเดิม แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาช่วงระยะเวลาหนึ่ง คือ 6 – 12 เดือน ก่อนปลูกผม เพื่อชะลออัตราการหลุดร่วงให้คงที่ก่อน

     ยากลุ่มที่แพทย์อาจจะพิจาณาใช้เพื่อชะลออัตราการร่วงของผมก่อนการปลูก เช่น ยากลุ่มต้านฮอร์โมน ( finasteride), ยากลุ่มเพื่มเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (minoxidil), การรักษาพยุงอาการด้วยแสงหรือเลเซอร์ low-level laser therapy (LLLT), การฉีด โกรธแฟคเตอร์ platelet-rich plasma (PRP) เป็นต้น

5. คนไข้กลุ่มที่ร่วงมากจนเหลือผมน้อย (Patients with insufficient hair loss)

     คนไข้ที่ร่วงเป็นรูปแบบนั้น หากเป็นมากๆหรือเป็นมานานๆแล้ว เราจะสังเกตุเห็นรูปแบบการร่วงที่ชัดเจน เช่น วงไข่ดาวกลางศีรษะ กรณีที่เห็นได้ชัดเจนั้น มักจะมีการหลุดร่วงของเส้นผมเกิน 50% ไปแล้ว

     เคสแบบนี้ อาจะไม่มีสัญญาณการร่วงในปัจจุบันมากนัก เพราะผมที่เหลือมีปริมาณน้อยแล้ว การแลูกผม ต้องระวังให้มาก เพราะอาจจะทำลายผมเดิมที่ยังเหลืออยู่ในบริเวณที่ต้องการปลูกได้ด้วยค่ะ

     ในบางกรณี หากหนังศีรษะบางลง ต้องได้รับการฟื้นฟูสุขภาพของหนังศีรษะร่วมด้วย จึงจะได้รับผลการรักษาสูงสุดค่ะ เช่น การรักษาโรคประจำตัวของคนไข้ โดยเฉพาะโรคที่มีผลต่อการไหลเวียนของเส้นเลือดที่หนังศีรษะค่ะ, การฉีดไขมัน การฉีดโกรธแฟคเตอร์ เพื่อฟื้นฟูเซลและเนื้อเยื่อที่อาจมีการบางตัวลงไปแล้วด้วยนะคะ

6. ระวังคนไข้กลุ่มอายุน้อยๆ (Beware the young patient)

     กรณีที่คนไข้อายุน้อยกว่า หรือประมาณ 20 ปี และเริ่มมีการร่วงของผมแบบมีรูปแบบ คนไข้กลึ่มนี้มักจะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็ว และอาจมีผลกับอารมณ์ตความรู้สึก ของคนไข้ได้มาก แพทย์ต้องระวังในขั้นตอนการให้คำปรึกษา บอกการดำเนินของโรคที่เป็นไปได้ตามควมเป็นจริงเมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้วผมเดิมของคนไข้มีการร่วงต่อเนื่องตามการดำเนินโรคของ PHL

     หรืออายุเองก็อาจจะทำให้รูปหน้าเปลี่ยนไป เพราะแนวผมของเด็ก กับบแนวผมของผู้ใหญ่ มีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกัน หรือแม้แต่การอยากหน้าตาเหมือนดาราในดวงใจก็อาจจะเป็นปัญหาด้วย เพราะโครงสร้างพื้นฐานของกระโหลกศีรษะและใบหน้าของแต่ละคนแตกต่างกัน

     กรณีที่คนไข้อายุน้อยๆเริ่มมี PHL เคสเหล่านี้มักจะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็ว ถ้าไม่รักษาอาจจะถึงภาวะศีรษะล้านได้ก่อนอายุ 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นกรณีของความคาดหวัง หรือกรณีของตัวภาวะการร่วงของคนไข้เอง แพทย์ต้องใช้ควมระมัดระวังในการประเมิณมากกว่าปกติค่ะ และแน่ใจด้วยว่า คนไข้เองเข้าใจ

     สิ่งที่แพทย์ต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจมี การดำเนินโรคของตัวคนไข้, อัตราการร่วง, การร่วงต่อเนื่องของผมเดิม, การให้การรักษาร่วมอื่นถ้าจำเป็น เช่น การให้ยารับประทาน, ยาทา และหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ ในเวลาที่เหมาะสม คนไข้ควรมีระยะเวลาที่ผมไม่ร่วงรุนแรงหลังปลูก อย่างน้อย 1 ปี

     และในกรณีที่คนไข้ไม่ยินดีให้ควมร่วมมือในการรักษาร่วม ก่อนและหลังการปลูกผมจริงๆ อาจเป็นเคสในกลุ่มที่ไม่ควรทำการรักษาด้วยการปลูกผม เพราะในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อผมใหม่เริ่มงอก แต่ผมเก่ายังคงมีอัตราการร่วงที่รุนแรงไม่ได้ชะลอช้าลง ผลลัพท์สุดท้ายอาจไม่ได้สร้างความพอใจกับทุกฝ่ายค่ะ

7. ความคาดหวังที่อยู่บนความจริง (The patient with unrealistic expectations)

     ข้อนี้ ในเชิงการอธิบายทางการแพทย์ ไม่ยากเท่าไหร่ เพราะสามารถคำนวนได้อย่างชัดเจนว่า คนไข้มีเส้นผมเพียงพอหรือไม่ กี่เส้น สมบูรณ์ไหม ลีบฝ่อแล้วหรือยัง จะนำไปปลู

     ในบริเวณที่ต้องการได้กี่เส้น และเป็นบริเวณกว้างแค่ไหน ความซับซ้อนอยู่ที่ คนไข้คาดหวังอะไร ความคาดหวังในผลลัพท์สุดท้าย สามรถรรักษาให้เป็นแบบนั้นได้หรือไม่ค่ะ

8. ประเมิณสุขภาพจิตของคนไข้ร่วมด้วยเสมอ (Patients with psychological disorders)

     ในบางภาวะ คนไข้อาจจะมีความรับรู้แปลผลผิดจากปกติ เช่น Body dysmorphic disorder (BDD) เห็นตัวเองไม่สวย ไม่น่าดูตลอดเวลา คนไข้กลุ่มนี้ จะมีการทำหัตการทางการแพทย์ โดยเฉพาะการศัลยกรรม บนฐานความเชื่อที่ว่าร่างกายของตัวเองส่วนนั้นไม่สวย กรณีนี้ แพทย์ไม่ควรทำปลูกผมนะคะ ควรส่งต่อการรักษาให้จิตแพทย์ดูแล

     ภาวะทางจิตเวชอื่นๆ ที่อาจจะพบคือ การดึงผมจนร่วงเป็นหย่อมๆ (trichotillomania) กรณีนี้ ถ้ารักษาให้คนไข้เลิกดึงผม ผมบริเวณนั้นก็จะสามารภงอกกลับขึ้นมาได้ หกไม่ดึงแรงจนกระทั่งเกิดการทำลายของรากผมนะคะ

Ludwig scalp brown patch

Ludwig sign

paler around follicles

Ludwig scalp white patch

Ludwig sign

paler around follicles

Dandruff patch

Dandruff

Scalp exfoliations 

Dandruff exfoliation

Dandruff

Scalp exfoliations 

กรณีที่ปลูกผมได้ แต่ต้องระมัดระวัง (Proceed with Caution)

1. คนไข้มีโรคประจำตัวหรือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการงอกของผม (Patients with Medical Conditions that Complicate Surgery)

     พบได้บ่อยที่สุดคือ “สูบบุหรี่” ค่ะ เพราะการสูบบุหรี่ส่งผลโดยตรงต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงผม อันที่จริงก็ส่งผลต่อเส้นเลือดทั่งร่างกายนั่นแหละ แต่บริเวณเส้นผมเป็นเส้นเลือกเล็กๆที่มีแขนงเดียว หากมีปํยหา ผมหรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ก็จะมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ

     คนไข้ที่สูบบุหรี่ ควรต้องหยุดการสูบ ก่อนการปลูกผม อย่างน้อย 2-3 เดือน และงดสูปไปเลยหลังปลูก หากคนไข้ไม่สามารถทำได้ แนะนำให้แพทย์อธิบายผลกระทบที่จะเกิดเขึ้น ว่าผมจะขึ้นได้น้อย และคนไข้เซ็นต์รับทราบค่ะ

     โรคประจำตัวอื่นๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของเส้นเลือด หากมี ควรได้รับการรักษาอย่างเหมะสม เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นต้นนะคะ

2. เคสที่อาจได้ผลการรักษาไม่ดีมาก (Relatively Poor Candidacy)

     คนไข้ที่ผมบนหนังศีรษะมีน้อย แต่พื้นที่ปลูกมีมาก ตรงนี้ ควรอธิบายให้คนไข้เข้าใจว่า การปลูกหนึ่งครั้ง ปลูกได้กี่กราฟ และครอบคลุมพื่นที่ปลูกได้แค่ไหน จะต้องปลูกมากกว่าหนึ่งครั้งหรือไม่อย่างไร ค่ะ

ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่เกียวกับการอธิบายทางการแพทย์

1. ต้องการหาข้อมูลเฉยๆก่อน ยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะทำการรักษาจริงๆหรือไม่

     กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ อาจจะมีความกังวลเฉยๆ หรือมีปัญหาจริงๆ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน กลุ่มนี้ จะเรื่มอ่าน หาข้อมูล ตามออนไลน์ ลองซื้อผลิตภันต์ต่างๆที่เกี่ยวกับการดูแลเส้นผมมาใช้ โทรไปสอบถามตามสถานพยาบาลต่างๆ สอบถามค่ารักษา เป็นต้น

     กรณีนี้ ท่านสามารถเริ่มค้นหาข้อมูลต่างๆในเวบไซด์ของเรา ทั้ง เพียวร์แอนด์ไบรท์คลินิก  และ เวบของ พญ.บริสุทธิ์ นะคะ

     หากหาข้อมูลูลไม่พบ หรือ ไม่มีข้อมูลอยากทราบ หรือ อยากให้เขียนให้ความรู้เอาไว้เพิ่ม แนะนำเราได้นะคะ ไลน์ @PureAndBright หรือ Inbox PureAndBright นะคะ 

2. ตัดสินใจว่าทำการรักษาแน่นอน

     กลุ่มคนไข้กลุ่มนี้ มีความตั้งใจจริงๆว่าจะทำการปลูกผมแน่ๆ หลังจากได้รับข้อมูลมาระดับหนึ่ง และค่อนข้างมั่นใจว่าปัญหาของตนนั้น ต้องได้รับการดูแลโดยสถานพยาบาล ไม่สามารถใช้แค่ผลิตภันต์ได้ อาจมีการเข้าไปปรึกษาแพทย์แล้วบ้าง แต่ยังไม่ตัดสินใจทำ

     กรณีนี้ มีสองกลุ่มย่อย คือ ปัญหาไม่ซับซ้อน มีปัญหาเดียว เช่น ไม่ชอบกรอบหน้าเดิม อยากปรับรูปหน้าผากให้โค้งมน หรือต่ำแคบลง , ผมร่วงที่เกิดจากภาวะเครียด (Telogen Effluvium) เป็นต้น กรณีนี้ การรักษาก็ไม่ซับซ้อน มักจะเป็นการรักษาเดียวที่มุ่งเน้นแก้ปัญหานั้นๆ ค่ะ ท่านสามารถส่งข้อมูลส่วนตัวที่จำเป็น คือ เพศ อายุ โรคประจำตัว ประวัติผมร่วงในครอบครัว มาปรึกษาเราได้ค่ะ ที่ ไลน์ ไลน์ @PureAndBright หรือ Inbox PureAndBright นะคะ

     กรณีที่แพทย์ซักประวัติแล้ว อาจเป็นกรณีที่มีปัญหาร่วมกันมากกว่า 1 ปัญหา และอาจจะจำเป็นต้องมีการตรวจร่างกาย เส้นผม รากผม และหนังศีรษะเพิ่มเติม แนะนำให้ทำการนัดหมายมาปรึกษาแพทย์ค่ะ ส่งผลต่อการรักษา คือ อาจต้องใช้การรักษาร่วมมากกว่าหนึ่งหัตถการร่วมกันค่ะ

     คลินิกเรา เปิดทำการมาเข้าปีที่ 12 แล้ว เครื่องมือ และยา ทุกรายการผ่านการขออนุญาติอย่างถูกต้องจาก อย.ไทย และสำหรับเครื่องมือแพทย์ ผ่าน อย.อเมริกา หรือ US FDA ด้วยค่ะ

     เราทำการรักษาโดยแพทย์ คนเดียว คือ ผศ.ดร.พญ.บริสุทธิ์ แสนมโน หาญพานิช ประสบการณ์กว่า 20 ปี ค่ะ อ่านประวัติคุณหมอ นะคะ เคสปลูกผมที่คลินิกมีหลักพันเคสแล้ว

     รูปรีวิวที่คนไข้อนุญาติให้ลงสื่อ ปลูกผมแบบย้ายราก ปลูกผมแบบฉีด ค่ะ
หากท่านต้องการให้ส่งรูปนอกเหนือจากที่ลงสื่อโดยการส่งรูปไปให้ดู ต้องอภัยที่ไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนบุคคล แต่ท่านสามารถขอดูได้ที่คลินิกเมื่อเข้ามาปรึกษาแพทย์ค่ะ จะไม่สามารถการส่งไฟล์ที่เป็นข้อมูลส่วนตัวของคนไข้ท่านใดออกได้นะคะ

3. ท่านสามารถเข้ามารับการรักษาได้ จริงๆ

     เนื่องจาก เรามีสาขาเดียว ที่กรุงเทพฯ คนไข้ที่พักอาศัยอยู่ต่างประเทศ หรือต่างจังหวัด ท่านต้องสามารถเดินทางเข้ามารับการรักษาได้ที่คลินิกนะคะ

     ทางคลินิก ให้การรักษาคนไข้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้นค่ะ หากท่านบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ต้องไปปรึกษาบุคคลที่สามเพื่อขออนุญาติให้ทำ แนะนำให้ปรึกษากันเองก่อน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นว่า สามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไมค่ะ และแนะนำว่า คนที่ปรึกษาแพทย์ ไม่ว่าเป็นทางออนไลน์หรือนัดที่คลินิก ควรเป็นตัวคนไข้เอง ไม่แนะนำให้คุยผ่านคนอื่น เพราะอาจมีความคาดเคลื่อนของข้อมูล ทำให้เกิดการสับสน เข้าใจผิดได้ค่ะ

     ปกติที่คลินิกของเราก็มีคนไข้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือแม้แต่ต่างประเทศ เข้ามารับการรักษาด้วยการปลูกผมเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อการวางแผนด้านการเดินทาง, เวลาและการวางแผนงบประมาณ ของท่าน แนะนำว่า ท่านสามารถส่งประวัติเพื่อปรึกษาการวางแผนเบื้องต้นออนไลน๋ เมื่อได้รับการวางแผนว่า แพทย์แนะนำให้ทำการรักษาด้วยวิธีการใดบ้าง หรือการรักษาต่อเนื่องอย่างเป็นขั้นตอนใดบ้าง ท่านสามารถจองการเดินทางและทีพัก เพื่อพำนักให้สะดวกแก่การเดินทางระหว่างเข้ารับการรักษาค่ะ

4. การวางแผนการรักษาด้วยการปลูกแบบย้ายราก

4.1 การร่วงแบบมีรูปแบบชัดเจน PHL หรือ การเปลี่ยนแปลงกรอบการขึ้นของผม เช่นอยากได้รูปหน้าที่กลมมนหวานขึ้น เป็นต้น
4.2 มีเส้นผมเพียงพอให้นำมาปลูกหรือไม่
สำหรับข้อ 4.1-4.2 สามารถซักประวัติและประเมิณจากภาพที่ส่งมาได้เบื้องต้นได้ค่ะ

4.3 ต้องรักษาร่วมด้วยการรักษาอื่นหรือไม่ ข้อนี้ หากเป็นปัญหาที่ชัดเจนมากๆจะสามารถประเมิณได้จากประวัติที่คนไข้ให้ และรูปถ่ายที่ส่งมาค่ะ แนะนำให้เข้ามาตรวจกับแพทย์ที่คลินิกการตรวจของแพทย์อย่างละเอียดอาจจะเจอโรคบางอย่างที่คนไข้อาจจะไม่ทราบมาก่อนว่ามี หรือ ไม่ทราบมาก่อนว่าอาจจะมีผลต่อการรักษา ค่ะ เช่น โรคประจำตัวที่ส่งผลต่อคุณภาพของเส้นเลือด ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงคุณภาพของหนังศีรษะ , โรคผิวหนังบางชนิด ค่ะ

5. ปรึกษาฟรีไหม

     จะเห็นได้ว่า จากข้อมูลทั้งหมด การให้ประวัติที่ครบถ้วนและภาพถ่าย สามารถประเมิณปัญหาและวิธีการรักษาได้เกือบครบทั้งกระบวนการ ทางคลินิกขออำนวยความสะดวกให้ท่านโดยการปรึกษาออนไลน์ฟรีค่ะ

     คุณหมอจะได้รับประวัติครบถ้วนตามที่ท่านให้มา และติดต่อกลับท่านตามเบอร์ติดต่อที่ท่านให้ไว้ เพื่อแจ้งแผนการรักษาที่เหมาะสมและเป็นไปได้

     เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง โปรดกรอกรายละเอียด ให้ประวัติได้ที่ลิ๊ง

     กรณีที่ท่านต้องการปรึกษาเพื่อรับการตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษเพื่อตรวจสอบสภาพหนังศีรษะ รากผม อัตราการหลุดร่วงของเส้นผม ท่านสามารถนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการได้ที่คลินิกนะคะ

     ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะโรคระบาดโควิด19 ให้บริการเฉพาะคนไข้ที่นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการล่วงหน้าเท่านั้น และต้องมีการตรวจคัดกรองโควิดก่อนเข้ารับบริการค่ะ จึงได้จัดวันที่คุณหมอจะให้บริการปรึกษาฟรี ท่านสามารถตรวจสอบตารางได้ที่ ตารางปรึกษาฟรีประจำเดือน

     หากท่านไม่สะดวกในช่วงเวลที่คลินิกจัดไว้ให้ ท่านสามารถนัดปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่ายได้ ในวันและเวลาที่ท่านสะดวก ค่ะ

    ★ ปรึกษา ออนไลน์ ฟรี
    ★ ปรึกษาแพทย์ที่คลินิก ฟรี ,มีค่าตรวจโควิด, ตารางปรึกษาฟรี 
    ★ ปรึกปรึกษาแพทย์ที่คลินิก ตามวันและเวลาที่ท่านสะดวก มีค่าปริการปรึกษาและตรวจโควิด
    ★ คนไข้จองปลูกผมออนไลน์ทุกท่าน ท่านได้รับสิทธิ์ตรวจร่างกาย, โควิด และประเมิณอย่างละเอียด ฟรี 1 ครั้ง ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

6. เข้ามาปรึกษาที่คลินิก จะตรวจอะไรบ้าง

  • ซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไป อีกครั้ง
  • ตรวจรูปแบบการร่วงของเส้นผม PHL คำนวนกราฟเพื่อนำมาปลูก และคำนวนกราฟที่สามารถนำออกมาได้
  • ตรวจการกระจายตัว และควมหนาแน่นของเส้นผม ทั้งบริเวณที่ต้องการปลูกและบริเวณที่จะนำผมมาปลูก
  • ตรวจอัตราการร่วงของเส้นผม Hair pulling test สามารถประเมิณ ภาวะการร่วงเพราะฮอร์โมนได้
  • ตรวจคุณภาพรากผม
  • ตรวจเลือด และโรคติดเชื้อ เพื่อเตรียมปลูกผม (กรณีที่ท่านจองออนไลน์มาแล้ว)

ข้อมูลที่สอบถามบ่อย คลินิกอยู่ที่ไหน / คุณหมออะไร / ราคาเท่าไหร่

คลินิกอยู่ที่ Location ไม่มีสาขาค่ะ
แพทย์ที่ทำการรักษา ผศ.ดร.พญ.บริสุทธิ์ หาญพานิช  เรามีคุณหมอคนเดียวค่ะ
ราคาโปรโมชั่น  สามารถพิมพ์ค้นบริการที่ท่านสนใจได้ในช่อง search นะคะ
ปรึกษาแพทย์ โปรด  
ตารางนัดปรึกษาแบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่คลินิก
 
ปลูกผมแบบย้ายราก FUE , FUE-DHI รูปรีวิว ที่คนไข้อนุญาตให้ลงสื่อ ค่ะ 
อ่านร่ายละเอียดเพิ่ม ปลูกผมแบบย้ายราก

ปลูกผมแบบฉีดเซล PureCells รูปรีวิว ที่คนไข้อนุญาตให้ลงสื่อ ค่ะ
อ่านร่ายละเอียดเพิ่ม

Dermoscopy Sebderm

Dermoscopy

Seborrheic Dermatitis

Densitometry Sebderm

Densitometry

Seborrheic Dermatitis

Trichoscopy Sebderm 1

Trichoscopy

Seborrheic Dermatitis

Trichoscopy Sebderm 2

Trichoscopy

Seborrheic Dermatitis

❝The truth will set you free❞
❝Vēritās līberābit vōs❞

Jesus Christ, verse John 8:32

เอกสารอ้างอิง

Is Every Patient of Hair Loss a Candidate for Hair Transplant?-Deciding Surgical Candidacy in Pattern Hair Loss.

True RH. Indian J Plast Surg. 2021 Dec 20;54(4):435-440. doi: 10.1055/s-0041-1739247. eCollection 2021 Oct.
PMID: 34984081