เวชศาสตร์ ชะลอวัย
เวชศาสตร์ ชะลอวัย หรือ anti aging คือ ศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่งที่อธิบายเรื่องความมีอายุยืนยาว ชะลอประบวนการ ชรา และการลดปัจจัยต่างๆที่มีผลทำให้อายุสั้น
แน่นอนว่า การแก่ หรือ ชรา เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์อธิบายกลไกของการแก่ได้ก็พบว่า หาสามารถ ลดทอน ชะลอ ปรับแต่ง เหตุการณ์บางอย่างได้
เราจะแก่ช้าลง และเมื่อแก่ช้าลงในระดับเซลจะส่งผลให้การทำงานโดยรวมของร่างกายทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้เราป่วยหรือรายน้อยลง ผลลัพท์สุดท้าย อายุยืนยาวมากขึ้น และแก่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีและแข็งแรง ค่ะ
1. ที่มาและความสำคัญของความชรา
ความ แก่ หรือ ความ ชรา (aging) คือ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามลำดับขั้นตอนและมากขึ้นเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากระดับเซล (cellular level) ไปถึงระดับเนื้อเยื่อ (tissue level) ระดับอวัยวะ (organ level) ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ลดประสิทธิภาพลงของร่างกาย
กลไกของการเสื่อมการทำงาน จะทำให้ร่างกายอ่อนประสิทธิภาพลง (debility) เมื่ออวัยวะทำงานประสิทธิภาพลดลงอาจก่อให้เกิดโรค (disease) และเมื่ออวัยวะหลายส่วนทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ก็เสียชีวิตได้ (death) ดังนั้น การแก่เป็นกระบวนการต่อเนื่องค่ะ
สาเหตุของความแก่ แบ่งเป็น สาเหตุที่มาจาก ปัจจัยภายใน (Intrinsic factors) กับปัจจัยที่มาจากภายนอก (extrinsic factors) ปัจจัยภายในคือปัจจัยที่มาจากกรรมพันธุ์ แก้ไขไม่ได้ เช่น มนุษย์มีวงจรอายุประมาณ 80 ปี เป็นต้น
ปัจจัยภายนอกคือปัจจัยที่เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น อาหาร, วิถีชีวิต , สภาพแวดล้อม, ยาหรือสารเคมีต่างๆ เป็นต้น ปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่สามารถเป็นได้ทั้ตัวเร่ง หรือ ตัวชะลอ ประบวนการแก่ที่เกิดตามธรรมชาติค่ะ
Anti aging คือ เวชศาสตร์ ชะลอวัย
องค์การอนามัยโลก WHO ให้นิยามว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมชาติ เราแก่ได้แต่ควรแก่อย่างมีสุขภาพที่แข็งแรงนะคะ
2. การลดแคลอรี่หรือสารอาหารบางประเภท
2.1 การจำกัดแคลอรี่ (Caloric restriction: CR)
การจำกัดแคลอรี่ คือ ลดการรับพลังงานลง หรือช่วงเวลาที่เรารับพลังงานจากอาการเข้าไปน้อยกว่าที่ร่างกายของเราได้ใช้พลังงานจริง
สืบเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในสัตว์หลายชนิดรวมทั้งมนุษย์พบว่า การจำกัดการรับแคลอรี่สามารถเพิ่มอายุขัย หรือ การเกิดโรคทางเมตาบอลิคลดลงได้ เช่น อัตราการเกิด เบาหวาน (diabetes melitus), เมร็ง (cancers), โรคหัวใจ (cardiovascular diseases), และโรคทางระบบสมอง (brain atrophy) ลดลง
✔ IF อาจเป็นช่วงเวลาหนึ่งของวัน หรือ แบ่งกระจายหลายวันครั้งจำกัดพลังงานครั้งหนึ่งก็ได้เช่นกัน เราเรียกการลดพลังงานเป็นช่วงๆเวลานี้ว่า intermittent fasting หรือเรียกย่อๆว่า IF มี IF ที่ทำหลายรูปแบบเช่น
✔ ทำ IF เป็นช่วงเวลาระหว่างวัน Time-restricted feeding คือกำนดช่วงเวลาชัดเจนในการรับประทานอาหาร นอกเหนือจากช่วงเวลานี้ ห้ามรับประทานเป็นต้- ทำ IF เป็นช่วงเวลาสลับวัน ในวันที่ลดแคลลอรี่ อาจจะแค่ลด ไม่ถึงกับอดเลย Alternate-day fasting
✔ ทำ IF เป็นช่วงเวลาที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน เช่น รับประทานปกติ 5 วัน ทำ IF สลับ 2 วัน เป็นต้น
✔ ทำ IF เป็นช่วงๆเวลา เช่น รับประทานอาหารจำกัดแคลอรี่ 5 วันติดใน ในช่วงระยะเวลา 1 เดือน เป็นต้น
ในมนุษย์ ไม่มีการศึกษาชัดเจน เพราะต้องใช่ช่วงเวลาทั้งช่วงชีวิต แต่มีการสังเกตุว่า อายุขัยของ คนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในโอกินาว่า ซึ่งมีการรับประทานที่ได้รับแคลอรี่เฉลี่ย น้อยกว่าคนญี่ปุ่นในส่วนอื่นของประเทศ ประมาณ 17% มีอายุยืนกว่าคนญี่ปุ่นในภูมิภาคอื่น
โอกินาว่าอาจมีปัจจัยด้านองค์ประกอบของอาการอาจจะมีผลด้วย เพราะอาหารในโอกินาว่าส่วนมากเป็นผักสด และโปรตีนในอาหารส่วนมากจะมาจากปลาและเต้าหู้ ซึ่งทราบกันดีว่า เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีส่วนประกอบของไขมันน้อยเมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ
ในการทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่า การลดปริมาณแคลอรี่ในอาหารก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ การลดลงของน้ำหนักตัวโดยรวม, การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิส่วนกลางของร่างกายและระบบเผาผลาญ, การลดลงของระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ระดับฮอร์โมนอินซูลิน และระดับความดันโลหิตค่ะ
2.2 สูตรอาการที่จำกัดสารอาหารจำเพาะบางประเภท (diet with limit amount of some nutrients)
มีการศึกษาส่วนมากเป็นการศึกษาในสัตว์ พบว่า การลดสารอาหารบางประเภทมีผลต่อการมีชีวิตยืนยาวขึ้น เช่น การลดแป้ง และโปรตีน เป็นต้น
สำหรับการลดแป้ง ผ่านกลไกของการลดระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานดีขึ้น
สำหรับการลดโปรตีน การศึกษาในคนยังไม่มีการศึกษาใดอธิบายกลไกได้ มีแต่การศึกษาในสัตว์บางประเภทเท่านั้นค่ะ
Wagyu steak
和牛ステーキ
Tofu
豆腐
Salmon Sashimi
鮭刺身
Natto
納豆
3. การศึกษาการจำกัดแคลอรี่ในคน CALERIE™
CALERIE™ (Comprehensive Assessment of Long term Effects of Reducing Intake of Energy)
เป็นการศึกษาในคนครั้งแรก เกี่ยวกับผลของการจำกัดแคลอรี่ในคนเป็นระยะเวลานาน อย่างน้อย 2 ปี เพื่อติดตามผลที่มีต่อร่างกายที่มีผลต่ออายุขัยของผู้เข้ารับการศึกษา โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านโรคหลอดเลือดและหัวใจ (cardiometabolic risk factors)
การศึกษา CALERIE™ แบ่งออกเป็นสองเฟส โดยเฟสแรกทำใน 3 สถานที่ แบ่ง การจำกัดแคลอรี่ออกเป็น 20%, 25%,และ 30% เก็บข้อมูลในกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายเข้าข่ายน้ำหนักเกิน โดยค่า BMI ต้องอยู่ระหว่าง 25.0 ถึง 30 เก็บข้อมูลที่ 6 เดือน หรือ 1 ปี
ที่ 6 เดือน หรือ 1 ปี พบว่า มีการลดลงของไขมันเลว LDL cholesterol และสารก่อนการอักเสบ (C-reactive protein) ชัดเจน
ส่วนในการเก็บข้อมูลระยะที่สอง ที่ 24 เดือนพบว่า ทุกตัวชี้วัดดีขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ไขมันในกล้ามเนื้อ (intramyocellular lipid contents), สารก่อนการอักเสบ (C-reactive protein), อินเตอร์ลิวคินที่มีผลต่อการอักเสบ (TNF-alpha), และพบว่า สภาวะอารมณ์และความสัมพันธ์ต่างๆ (mood, sexual drive and social relationship) ของผู้เข้ารับการเก็บข้อมูลดีขึ้นด้วย คือคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นทั้งหมดค่ะ
Japanese lifestyle is good for longevity
日本のライフスタイルは長寿に良い
4. เสริมสารอาหารหรือยาบางประเภท
4.1 สูตรอาการที่เพิ่มสารอาการจำเป็นบางชนิด เช่นกลุมไฟโตเคมิคอลและกลุ่มกรดไขมันจำเป็น (diet with phytochemicals and essential fatty acid)
ไฟโตเคมิคอลคือ สารประกอบทางเคมีที่พบเฉพาะในพืช สารเคมีกลุ่มนี้ทำให้ผักและผลไม้ มีลักษณะกลิ่น รสชาติเฉพาะตัว มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิด ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด
ตัวอย่างของ
สารไฟโตเคมิคอล เช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoids), กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate) / ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate), โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) , โพรแอนโธไซยานิน (Proanthocyanidins), ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens), เฟนโนลิก (Phenolics) / สารประกอบซีสติก (Cystic Compound), ซาโปนินส์ (Saponins), ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) และ ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols) เป็นต้น
กรดไขมันที่จำเป็น (essential fatty acid) คือกรดไขมัน (fatty acid) ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่บริโภคเข้าไป ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ เช่น กลุมโอเมก้า – โอเมก้า 3 ( Linolenic หรือ Alpha Linoleic Acid ) , โอเมก้า 6 ( Linoleic Acid ) และ โอเมก้า 9 ( Oleic Acid ) เป็นต้น
สารอาหารจำเป็นในกลุ่มนี้ มีกลไกการทำงานผ่านกระบวนการลดการอักเสบระดับเซล ทำให้การทำงานเกิดสมดุลย์และดีขึ้นตั้งแต่ระดับการทำงานของเซลขึ้นมา
4.2 การให้ยาบางชนิด (Pharmacological approaches)
ส่วนมากเป็น ยาที่มีผลต่อการทำงานของไมโตคอนเดรีย ซึ่งคือแหล่งผลิตพลังงานระดับเซล หากระดับของพลังงานสมดุลย์ พบว่าอัตราการเสื่อมของอวัยวะสำคัญก็เสื่อมช้าลงด้วย เช่น ระบบเส้นเลือด และระบบสมองเป็นต้น
ยกตัวอย่างชื่อยาที่ใช้ ที่รู้จักกันมานานคือ เมทฟอมิน (Metformin) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานระยะแรกๆ มีผลต่อการใช้พลังงานระดับเซลผ่านกลไกของ AMP/ATP แต่กลไกที่เพิ่มอายุขัยอาจจะต้องรอเก็บข้อมูลของการศึกษาให้มากเพียงพอ
ยากลุ่มอื่นๆ ที่มีการศึกษา เช่น Quercetin, Myricetin เป็นต้น แต่เนื่องจากยังไม่มีการศึกษากลไกที่ชัดเจน จึงยังไม่ขอลงรายละเอียดในบทความนี้นะคะ
沖縄県
Okinawa Prefecture :
The remote Japanese island
where the locals refuse to die
5. สรุปแนวทางการดูแล ชะลอวัย
โดยสรุป กระบวนการแก่ชรา เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดจากปัจจัยภายใน ที่มีปัจจัยภายนอกเเป็นไปได้ทั้งเป็นตัวเร่งกระบวนการให้แก่หรือเสื่อมเร็วขึ้น
หรือ ตรงกันข้าม การปรับวิถีชีวิต เช่น การจำกัดแคลอรี่, สารอาหารบางประเภท หรือ แม้แต่ การเสริมสารอาหารบางอย่างเข้าไป สามารถเพิ่อเพิ่มการทำงานตั้งแต่ระดับเซลให้มีประสิทธิภาพ, ชะลอกระบวนการเสื่อม คุณภาพชีวิตดีขึ้น อัตราการเป็นโรคต่างๆช้าลง และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นค่ะ
ความแก่เลี่ยงไม่ได้ก็อาจจะจริงแต่ชะลอให้ช้าลงได้ สำหรับงานผิว ไม่ว่าคุณจะมีปัญหา ผิวหมอง, ผิวขาดน้ำ, เริ่มมีฝ้า กระ, ริ้วรอย, ร่องลึก, เปลือกหนังตาตก หรือโครงหน้าไม่กระชับ นี่คืองานของเราค่ะ แจังนัดหมายปรึกษาสิคะ แล้วให้เราได้ดูแลคุณ
ริ้งรอยแห่งวัยมีบ้างเป็นเสน่ห์ค่ะ แต่ถ้ามีมากเกินไป ให้เราดูแลนะคะ @PureAndBright
❝Wrinkles will only go where the smiles have been.❞
– Jimmy Buffet
เอกสารอ้างอิง
Current nutritional and pharmacological anti-aging interventions.
Ros M, Carrascosa JM. Biochim Biophys Acta Mol Basis Dis. 2020 Mar 1;1866(3):165612. doi: 10.1016/j.bbadis.2019.165612. Epub 2019 Dec 6. PMID: 31816437